ยกระดับสถานศึกษาปลอดภัย VEC Safety Center - Leadership Way

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ยกระดับสถานศึกษาปลอดภัย VEC Safety Center

"อาชีวะเอาจริง ยกระดับสถานศึกษาปลอดภัย VEC Safety Center"

วันที่ 20 ตุลาคม 2565 นายทวีศักดิ์ คิ้วทอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ประธานกรรมการอาชีวศึกษากรุงเทพ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ศป.สอศ.) หรือ VEC Safety Center เป็นประธานในการประชุมวางแผนป้องกันแก้ไขปัญหาพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา และมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษา (การใช้อาวุธปืนและยาเสพติด) เชิงรุก กลุ่มสถานศึกษาเฝ้าระวังป้องกันเหตุทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จำนวนกว่า 50 แห่ง ณ ห้องประชุมสุธี-ฉวีวรรณ มีนชัยนันท์ อาคาร 6 ชั้น 5 วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี 

เพื่อวางแผนป้องกันเหตุ ความรุนแรงและพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักเรียน นักศึกษา ตามนโยบายสถานศึกษาปลอดภัย MOE Safety Center นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ได้เร่งรัดพัฒนาคุณภาพอาชีวศึกษาใน 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านอาชีวศึกษาปลอดภัย ด้านการสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษาใหม่ ด้านคุณภาพ ด้านขยายโอกาส ด้านธรรมาภิบาล และด้านสร้างความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษา ในการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความร่วมมือของพลังเครือข่ายเพื่อให้การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเป็นกำลังหลักในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ คือ ประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ร่ำรวยด้วยมืออาชีวศึกษาและสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้เกิดความเชื่อมั่น เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยบริการบริหารจัดการในรูปแบบ "One Team" จึงได้จัดตั้งกลุ่มเฝ้าระวังป้องกันเหตุขึ้น 7 กลุ่มในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ไขปัญหา การจัดการประชุมครั้งนี้มี ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา และหัวหน้างานปกครอง สถานศึกษาทั้ง 7 กลุ่มในเขตพื้นที่ ได้แก่

กลุ่มที่ 1 จตุจักร (เขตมีนบุรี เขตบางกะปิ เขตบึงกุ่ม เขตหนองจอก เขตคันนายาว เขตคลองสามวา)
กลุ่มที่ 2 อนุสรณ์สถาน (จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตบางซื่อ)
กลุ่มที่ 3 (เขตดุสิต เขตบางพลัด)
กลุ่มที่ 4 สวนหลวง ร.9 (จังหวัดสมุทรปราการ เขตพระโขนง เขตสวนหลวง เขตบางนา)
กลุ่มที่ 5 ธนบุรี (จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม เขตบางบอน เขตตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตบางขุนเทียน เขตภาษีเจริญ เขตหนองแขม เขตทวีวัฒนา)
กลุ่มที่ 6 กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
กลุ่มที่ 7 บางปะกง (จังหวัดฉะเชิงเทรา)

ด้านนายทวีศักดิ์ คิ้วทอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ประธานกรรมการอาชีวศึกษากรุงเทพ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยอาชีวศึกษา (ศป.สอศ) กล่าวเพิ่มเติมว่าในที่ประชุมวันนี้สถานศึกษาได้เสนอแผนเชิงรุกแนวใหม่ และคิดนำเอาเทคโนโลยีนวัตกรรมมาช่วยในการปฏิบัติงานเพื่อยกระดับให้เป็นสถานศึกษาอัจฉริยะด้านความปลอดภัย หรือ "Smart Safety College" ตามหลัก 3 ป คือ 1. ป้องกันความเสี่ยงแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้น 2. ปลูกฝังให้นักเรียนนักศึกษา รู้วิธีเอาตัวรอดอย่างชาญฉลาดสอนวิชาชีวิตที่สำคัญ ไม่น้อยกว่าวิชาการ และ 3. ปราบปราม พวกที่กระทำความผิดอย่างจริงจัง เน้นเยียวยาผู้เสียหายเป็นสำคัญ 

ซึ่งทุกกลุ่มได้เสนอแผนและมาตรการป้องกันเหตุ ที่เป็นแผนปฏิบัติได้จริงสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่ผู้ปฏิบัติช่วยกันคิดช่วยกันทำช่วยกันแก้ปัญหาแบบ Bottom up ไม่ใช่แผนปฏิบัติที่สั่งจากข้างบนลงไปหรือ Top Down ซึ่งที่ผ่านมาจะเกิดปัญหาเพราะไม่สอดคล้องกับผู้ปฏิบัติในพื้นที่ ในเบื้องต้นสถานศึกษาบางแห่งก็ยังมีข้อจำกัดทรัพยากร ในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งจะขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ต่อไป

Post Bottom Ad



Pages