วช. จัดเวทีระดมความคิด วางแผนรับมือสถานการณ์น้ำท่วม น้ำแล้ง จังหวัดน่าน - Leadership Way

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

วช. จัดเวทีระดมความคิด วางแผนรับมือสถานการณ์น้ำท่วม น้ำแล้ง จังหวัดน่าน


(วันที่ 17 พฤษภาคม 2565) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดเวทีระดมความคิดจากกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้งเพื่อการจัดเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วมผ่านระบบแอพพลิเคชัน จากผลงานโครงการวิจัย เรื่อง “โครงการแนวทางการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำระดับชุมชนในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วม” 

โดย นายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ หัวหน้าโครงการวิจัย​  เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ต่อการพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำให้มีความสามารถในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม สรุปและประมวลการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

 โดย​  รศ.ดร.สุจริต  คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ​ ณ สำนักวิชาทรัพยากร​การเกษตร​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวกอำเภอ​เมืองน่าน จังหวัดน่าน พร้อม​ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ​ผู้แต่ละตำบลและสื่อมวลชน​
      
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง​ การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เล็งเห็นความสำคัญของแนวทางการพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อเพิ่มความสามารถในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ 33 ตำบล 15 จังหวัดใน 5 ภูมิภาคเพื่อช่วยยกระดับองค์กรผู้ใช้น้ำในการวางแผนน้ำของพื้นที่ที่จะสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในอนาคตการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน 

วช. ได้สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาระบบข้อมูลน้ำชุมชนผ่านระบบ DATA STUDIO เพื่อสนับสนุนการทำข้อมูล TWR ในการบริหารจัดการน้ำชุมชนผ่านองค์กรผู้ใช้น้ำและเกิดแผนน้ำชุมชนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (ปี พ.ศ. 2558-2569) ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ร่วมกับแกนนำชุมชน และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

โดยมีการพัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยการใช้แอพพลิเคชันในการจัดเก็บข้อมูลแหล่งต้นทุนน้ำของชุมชนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ซึ่งนับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของนวัตกรรมภายใต้การบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้มีความมั่นคง และยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริต  คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำ​  ​สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า​ วช.ได้ให้ทุนสนับสนุนและเล็งเห็นถึงความสำคัญ​ในเรื่องของการบริหาร​จัดการน้ำ​การบริหารจัดการที่เน้นให้ทุกภาคส่วนของสังคมรู้ถึงคุณค่าของน้ำ ใช้น้ำอย่างมีเหตุผล เพื่อให้ทรัพยากรน้ำมีใช้อย่างทั่วถึงก่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดซึ่งในการพัฒนาและการใช้ประโยชน์เป็นไปในลักษณะควบคู่ไปกับการอนุรักษ์การจัดการน้ำในลุ่มน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีข้อมูลการจัดเก็บข้อมูระบบข้อมูลน้ำชุมชน​การจัดการเฉพาะในแต่ละลุ่มน้ำ เพื่อให้มีการพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ภายในลุ่มน้ำ ซึ่งมีการแก้ปัญหา มีการควบคุม การพัฒนา การใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำร่วมกับทรัพยากรอื่น ๆ​ การบริหาร​จัดการน้ำอย่างเป็นระบบสามารถลดความขัดแย้งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ​

 โดยโครงการ​นี้เน้น​ 3​ ด้าน​ 1.)​ คู่มือพัฒนา​กลุ่มองค์กร​ผู้ใช้น้ำ 2.)​ คู่มือการประเมินผู้ใช้น้ำ 3.)​ ข้อเสนอ​แนะ​ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้​จะนำไปสู่การออกมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการน้ำแนวทางปฏิบัติในชุมชนในการแก้ปัญหาจัดสรรน้ำปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำเชิงบูรณาการในพื้นที่นอกเขตชลประทานได้อย่างยั่งยื​น​

นายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ​ หัวหน้าโครงการ​วิจัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาภัยแล้งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และกระจายตัวไปในทุกภูมิภาคของประเทศ ที่ผ่านมาแนวทางการแก้ไขปัญหาเน้นการจัดการแบบรวมศูนย์โดยหน่วยงานของรัฐ ทำให้การแก้ไขปัญหาและการวางแผนบริหารจัดการน้ำไม่ตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่ พื้นที่นอกเขตชลประทานการใช้น้ำของคนในชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันบริหารจัดการที่เป็นระบบ ไม่มีกระบวนการหรือรูปแบบการดำเนินการที่เหมาะสม ขาดการจัดเก็บข้อมูลและขาดการมีส่วนร่วมในชุมชนในการวิเคราะห์และวางแผนการบริหารการจัดการน้ำของกลุ่มชุมชน นำไปสู่แนวทางการพัฒนากลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อเพิ่มความสามารถในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยผ่านระบบแอพพลิเคชันข้อมูลน้ำชุมชน DATA STUDIO แผนน้ำชุมชน เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาท้องถิ่น 

โดยขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมใน 33 ตำบล 15 จังหวัด ใน 5 ภูมิภาค ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยและศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคใน 10 เรื่องสำคัญ ดังนี้ 1.) การจัดตั้งกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ ที่มาจากการมีส่วนร่วมและการรวมกลุ่มของคนในชุมชนท้องถิ่น 2.) การวิเคราะห์ศักยภาพของคณะกรรมการกลุ่มในการบริหารจัดการน้ำชุมชน ทั้งในเรื่องของการเก็บข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูล การใช้เทคโนโลยีเพื่อการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการกลุ่ม และทักษะการปรับตัวอย่างเท่าทัน 3.) การมีระบบฐานข้อมูลชุมชน เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการวางแผนการจัดการน้ำ ข้อมูลสมดุลน้ำชุมชน ตลอดจนข้อมูลสถานการณ์น้ำในพื้นที่ 4.) มีกระบวนการจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม โดยทุกขั้นตอนต้องเปิดพื้นที่ในการมีส่วนร่วมจากคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัย ทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นและเครือข่ายสายน้ำ

 5.) มีแผนการบริหารจัดการน้ำชุมชน ที่สอดคล้องกับระบบภูมินิเวศของลุ่มน้ำ ต้นทุนน้ำของพื้นที่ รวมทั้งความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์น้ำ 6 ด้านที่จะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำของชุมชน โดยเชื่อมโยงกับดัชนีชี้วัดการจัดการน้ำ เพื่อการบริการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 6.) มีระเบียบ มาตรการของชุมชน ในการบริหารจัดการน้ำที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันในการปฏิบัติการของคนในชุมชนท้องถิ่น 7.) มีการจัดการด้านการเงินของกลุ่ม ในรูปแบบกองทุนเพื่อจัดการน้ำชุมชน โดยมีการสร้างรายได้ของกลุ่ม เช่น การเก็บเงินจากสมาชิกเป็นค่าบริหารจัดการน้ำชุมชน การขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน 8.) มีกลไกการติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการน้ำชุมชนแบบมีส่วนร่วม มีแผนในการติดตามหนุนเสริมกิจกรรมกลุ่มและมีองค์ประกอบของทีมติดตามที่มีความหลากหลาย 9.) มีกลไกการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย เครือข่ายต่อรองข้ามพื้นที่ กลุ่ม การเชื่อมประสานการทำงานร่วมกับ อปท. แผนพัฒนาตำบลฯ การดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกพื้นที่ 10.) มีการส่งเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพ ของคนในชุมชนต่อการบริหารจัดการน้ำ มีกิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ มีการส่งเสริมความรู้และสื่อสารข้อมูลที่เท่าทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในแง่ของสภาวะอากาศหรือกลไกการผลิตและการตลาด

ทั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิ​จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้นำแต่ละตำบล​ ได้นำเสนอข้อคิดเห็น​ต่าง​ ๆ​ เพื่อพัฒนา​กลุ่ม​องค์กร​ผู้ใช้น้ำการจัดเก็บข้อมูล​ผ่านระบบ DATA STUDIO​ การปรับปรุง​สร้าง​ระบบท่อส่งน้ำ​การว่างแผนสร้าง​อ่างเก็บน้ำห้วยม่วง​เพื่อกักเก็บ​น้ำเพื่อการบริหาร​จัดการ​น้ำในอนาคต​ กลไกความร่วมมือของเครือข่าย ชุมชน เครือข่ายวิชาการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลโดยพัฒนาเชื่อมโยงฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำและการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 

Post Bottom Ad



Pages